ไหว

.•*''*•..♥ ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger โดยนางสาวสุภาภร ดวงมณี คบ.2 คอมพิวเตอร์ศึกษา หมู่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ♥.•*''*•.

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555


จิตวิทยา
จิตวิทยา คือวิชาว่าด้วยจิต เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งว่าด้วยปรากฎการณ์ พฤติกรรม และกระบวนการของจิต  จิตวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Psychology) เป็นวิชาที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์แขนงต่าง ๆ ได้แทบทุกศาสตร์ และเป็นที่ยอมรับว่ามีความสำคัญและมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านส่วนตัวเอง ด้านครอบครัว ด้านเพื่อนร่วมงาน และด้านการประกอบอาชีพร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม เป็นต้น

ความหมายของจิตวิทยา
          คำว่า จิตวิทยา” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า “Psychology” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก ๒ คำ คือคำว่า Psyche กับ Logos
          คำว่า Psyche หมายถึงวิญญาณ (Soul) กับคำว่า Logos หมายถึงวิชาการและการศึกษา (Study)
     ดังนั้น เมื่อทั้ง ๒ คำรวมกันจึงเป็นคำศัพท์ว่า Psychology มีความหมายว่าด้วยวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับวิญญาณ สมัยกรีกโบราณซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการศึกษาจิตวิทยา
        สรุปได้ว่า จิตวิทยา คือ การศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ว่าด้วยเรื่องพฤติกรรมของสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์และสัตว์  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจ สามารถอธิบาย สามารถทำนาย กำหนดควบคุมพฤติกรรมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การเรียนการสอน 
การเรียนการสอน  คือ  การพยายามสร้างความเข้าใจทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนความสำเร็จของการเรียนการสอน พิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ
จิตวิทยากับการเรียนการสอน
 จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอนพร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
จิตวิทยาการศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการของผู้เรียน ในสภาพการเรียนการสอนหรือในชั้นเรียน เพื่อค้นคิดทฤษฎีและหลักการที่จะนำมาช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาและส่งเสริมการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
1.ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน
2.ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน
3.ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน
5. ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
6.ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
7.ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น